วันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การจัดการฮาร์ดดิสก์

การจัดการฮาร์ดดิสก์

ฮาร์ดดิสก์เป็นส่วนสำคัญของคอมพิวเตอร์เนื่องจากเป็นส่วนที่เก็บแฟ้มงานไว้ และสำหรับผู้ใช้งานหลายๆ คนแล้วถือว่าอุปกรณ์นี้สำคัญที่สุด จึงจำเป็นที่จะต้องบำรุงรักษาฮาร์ดดิสก์อย่างดี

1. ความสำคัญและประเภทของพาร์ติชัน
ก่อนการนำฮาร์ดดิสก์ไปใช้งานจะต้องมีการแบ่งพาร์ติชันและฟอร์แมตก่อน ซึ่งในกระบวนการนี้จะมีการกำหนดชื่อไดรว์ให้แต่ละพาร์ติชันสำหรับอ้างถึงใน การบันทึกและดึงข้อมูลมาใช้งานอีกด้วย

การแบ่งพาร์ติชัน คือ การแบ่งพื้นที่ทั้งหมดของฮาร์ดดิสก์ออกเป็นส่วนย่อยหลายๆ ส่วน แต่ละส่วนจะถูกเรียกว่า "พาร์ติชัน" (Partition) โดยการสร้างพาร์ติชันจะต้องมีการระบุขนาดของพาร์ติัชันที่สร้างขึ้น ซึ่งจะต้องไม่เกินความจุของฮาร์ดดิสก์ เช่น ฮาร์ดดิสก์ความจุ 80 GB สามารถแบ่งเป็นพาร์ติชัน 2 พาร์ติชัน โดยพาร์ติชันแรกมีขนาด 20 GB และพาร์ติชันที่สองมีขนาด 60 GB เป็นต้น( หรือจะแบ่งในลักษณะอื่นๆ อีกก็ได้)

1.1 ไพรมารีพาร์ติชัน
ฮาร์ดดิสก์ของเครื่องคอมพิวเตอร์พีซีจะีมีการตารางพาร์ติชันอยู่ใน มาสเตอร์บูตเรคอร์ด (Master Boot Record : MBR - เป็นพื้นที่บรรจุข้อมูลของฮาร์ดดิสก์และชุดคำสั่งที่จำเป็นสำหรับการบูต) ตารางนี้จะบรรจุรายการของพาร์ติชันที่มีอยู่ซึ่งบรรจุได้ไม่เกิน 4 พาร์ติชัน(เหตุที่มีเพียงเท่านี้เนื่องจากในยุคเริ่มต้นของการออกแบบ ยังไม่มีความจำเป็นต้องใช้พาร์ติชันจำนวนมาก) ทำให้เราไม่สามารถแบ่งพาร์ติชันได้ไม่เกิน 4 พาร์ติชัน โดยทั้ง 4 พาร์ติัชันนี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อ ไพรมารีพาร์ติชัน (Primary Partition)

1.2 เอกซ์เทนพาร์ติชันและลอจิคัลพาร์ติชัน
ต่อมามีความจำเป็นต้องใช้พาร์ติชันจำนวนมากขึ้น จึงได้มีการพัฒนาพาร์ติชันชนิดใหม่ขึ้นมาเีรียกว่า เอ็กซเทนด์พาร์ติชัน (Extend Partition) เพื่อจะได้นำไปใช้แทนไพรมารีพาร์ติชัน ในแต่ละฮาร์ดดิสก์จะมีเอกซ์เทนพาร์ติชันได้ไม่เกิน 1 พาร์ติชัน (และรวมกับไพรมารีพาร์ติชันทีมีอยู่เดิมแล้วทั้งหมดต้องไม่เกิน 4 พาร์ติัชัน)ลักษณะพิเศษของเอ็กซเทนด์พาร์ติชันคือจะสามารถแบ่งเป็นพาร์ติชัน ย่อยๆ เรียกว่า ลอจิคัลพาร์ติชัน (Logical Partition) ได้อีกไม่เกิน 24 พาร์ติชัน (แต่ในระบบปฎิบัติการ Windows จะเรียกว่า Logical Partition ว่า Logical Drive ) เพื่อให้สามารถแก้ข้อจำกัดเรื่องจำนวนพาร์ติชันที่มีอยู่เดิม



จากรูปที่แสดง เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนี้ถูกแบ่งออกเป็น 3 ไพรมารีพาร์ติชัน(สีน้ำเงิน) และ 1 เอ็กซเทนด์พาร์ติชัน ในเอ็กซเทนด์พาร์ติชันถูกแบบออกเป็น 2 ลอจิคัลพาร์ติชัน(สีฟ้าและใช้คำว่า Logical Drive แทน) อาจจะมองได้ว่าฮาร์ดดิสก์ตัวนี้มีทั้งสิ้น 4 พาร์ติชัน( 3 ไพรมารีพาร์ติชัน และ 1 เอกซเทนด์พาร์ติชัน) หรือ 5 พาร์ติชันก็ได้ ( 3 ไพรมารีพาร์ติชัน และ 2 ลอจิคัลพาร์ติชัน)

ลักษณะพิเศษอีกประการของเอ็กซเทนด์พาร์ติัชันคือ ตัวมันเองและลอจิคัลพาร์ติชันที่อยู่ภายในไม่สามารถกำหนดให้เป็น แอคทีฟพาร์ติชันได้

ในจำนวนไพรมารีพาร์ติชันทั้งหมดที่อยู่ในฮาร์ดดิสก์จะมีเพียงพาร์ติชันเดียว ที่ถูกกำหนดสถานะให้เป็น แอคทีฟพาร์ติชัน (Active Partition) โดยจะมีกำหนดในตารางพาร์ติชันที่อยู่ในมาสเตอร์บูตเรคอร์ด

ในกระบวนการบูต เครื่องคอมพิวเตอร์(ขณะนั้นควบคุมโดย Bios) จะอ่านค่าในตารางพาร์ติชันเพื่อหาว่าพาร์ติชันใดเป็นแอคทีฟพาร์ติชัน จากนั้นจึงเรียกให้โปรแกรมบูตโหลดเดอร์ในพาร์ติชันนั้นทำงาน หากไม่มีการติดตั้งโปรแกรมดังกล่าวก็จะเริ่มโหลดแฟ้มต่างๆ ของระบบปฎิบัติการที่อยู่ในพาร์ติชันนั้น

การกำหนดว่าพาร์ติชันใดเป็นแอคทีฟพาร์ติชันจะกำหนดในขั้นตอนของการแบ่งพาร์ ติชันและมักไม่จำเป็นต้องแก้ไขค่าีนี้อีก ส่วนการเปลี่ยนสถานะแอคทีฟพาร์ติชันในระหว่างการใช้งานนั้น จะพบได้ในเครื่องคอมพิวเตอร์บางเครื่องที่ติดตั้งระบบปฎิบัติการหลายตัว เมื่อต้องการให้เครืื่องบูตจากระบบปฎิบัติใด ก็อาศัยการกำหนดให้พาร์ติชันนั้นๆ มีสถานะเป็นแอคทีฟพาร์ติชันแล้วรีสตาร์ทเครื่องใหม่ เครื่องก็จะบูตระบบปฎิบัติการตามที่เราเลือก (ส่วนอีกวิธีหนึ่งจะไม่ใช้การเปลี่ยนสถานะ แต่อาศัยโปรแกรมที่เรียกว่า บูตโหลดเดอร์แทน อย่างไรก็ตามจะขออธิบายการบูตหลายระบบปฎิับัิตการในเครื่องเดียวไว้เพียง เท่านี้)

1.4 ความจำเป็นในการแบ่งพาร์ติชัน
หลังจากทราบว่าพาร์ติชันคืออะไร ผู้อ่านอาจจะเกิดข้อสังสัยว่าทำไมต้องมีการแบ่งพาร์ติชันย่อยๆ แทนที่จะกำหนดให้ฮาร์ดดิสก์ถูกแบ่งให้มีแค่พาร์ติชันเดียวที่มีขนาดเท่าความ จุของฮาร์ดดิสก์

ต้องการใช้ระบบแฟ้มหลายแบบ : หลังการแบ่งพาร์ติชัน เราต้องทำฟอร์แมตพาร์ติชันเหล่านั้นก่อนใช้งาน ในขั้นตอนนี้เราสามารถกำหนดระบบแฟ้มที่เราต้องการได้ทำให้แต่ละพาร์ติชัน สามารถมีระบบแฟ้มที่แตกต่างกันไปได้ เพราะในบางกรณีเราอาจจะต้องการระบบแฟ้มหลายแบบเพื่อการใช้งานแตกต่างกันไป เ่ช่น ระบบแฟ้มบางระบบสนับสนุนการรักษาความปลอดภัยที่สูงกว่า หรืออาจจะบางระบบแฟ้มเท่านั้นที่สามารถทำงานร่วมกับบางโปรแกรมที่ใช้งานอยู่ ได้

ข้อจำกัดเรืื่องขนาดของพาร์ติชัน : ในระบบปฎิบัติการรุ่นเก่าจะมีการกำหนดขนาดสูงสุดของพาร์ติชันไว้ ซึ่งขนาดดังกล่าวอาจจจะน้อยกว่าความจุของฮาร์ดดิสก์ หากเราแบ่งพาร์ติชันเพียงพาร์ติชันเดียวจะทำให้ระบบปฎิบัติการนั้นมองเห็น แค่บางส่วนของฮาร์ดิสก์ จึงเป็นการสูญเสียเนื้อที่ของฮาร์ดดิสก์ไปโดยเปล่าประโยชน์ การแบ่งพาร์ติชันโดยกำหนดให้ขนาดของแต่ละพาร์ติชันไม่เกินขนาดสูงสุดที่ระบบ ปฎิบัติการมองเห็น จะทำให้สามารถใช้พื้นที่ของฮาร์ดิสก์ได้ทั้งหมด

ต้องการใ้ช้หลายระบบปฎิบัติการในเครื่องเดียว : กรณีต้องการใช้หลายระบบปฎิบัติการในเครื่องเดียว สามารถทำได้โดยแบ่งฮาร์ดดิสก์เป็นหลายพาร์ติชัน แต่ละพาร์ติชันจะบรรจุระบบปฎิับัติการแต่ละตัวแยกกันไว้ และใช้การสลับสถานะแอคทีฟพาร์ติัชันหรือโปรแกรบูตโหลดเตอร์ช่วยการการ เปลี่ยนระบบปฎิบัติการ จากข้อจำกัดเรื่องจำนวนไพรมารีพาร์ติชันจะเห็นว่าเครื่องคอมพิวเตอร์หนึ่ง เครื่องสามารถบรรจุระบบปฎิบัติการต่างกันได้ไม่เกิน 4 ระบบ

แยกระบบปฎิบัติการออกจากแฟ้มงาน : การเก็บแฟ้มงานและแฟ้มของระบบปฎิบัติการไว้ต่างพาร์ติชันมีข้อดีหลายประการ เช่น ลดความเสียงเรื่องความเีสียหายของข้อมูลเนื่องจากแฟ้มต่างๆที่อยู่ในพาร์ติ ชันเดียวกับอาจจะเสียหายจากไวรัสได้ง่ายกว่า , หากใช้ระบบหลายระบบปฎิบัติการ การแยกพาร์ติชันเก็บข้อมูลออกมาต่างหากทำให้แต่ละระบบปฎิบัติการสามารถเข้า ถึงแฟ้มข้อมูลได้สะดวก, พาร์ติชันที่เก็บระบบปฎิบัติการจะต้องมีการกันเนื่อที่ของฮาร์ดดิสก์ส่วน หนึ่งเพื่อเก็บข้อมูลบางประการในขณะทำงาน การเก็บข้อมูลไว้ในพาร์ติชันอาจจะทำให้ไม่มีพื้นที่เหลือพอสำหรับใช้งานดัง กล่าว ฯ
2. การแบ่งพาร์ติชันโดยใช้แผ่นติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows XP
ในขั้นตอนการติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows XP ทางผู้ผลิตจะมีโปรแกรมแบ่งพาร์ติชันมาให้ใช้งาน โปรแกรมนี้ไม่สามารถแบ่งพาร์ติชันได้ดังที่ได้อธิบายมาในข้อ 1.1,1.2 ทุกประการ เพราะจากทางผู้ผลิตต้องการจำกัดให้เราใช้เฉพาะระบบปฏิบัติที่ตนจำหน่ายหรือ จะถือว่าเพื่อทำให้ขั้นตอนการทำงานมีความง่ายขึ้นก็ได้ทั้งสองแง่

การแบ่งพาร์ติชันโดยใช้แผ่นติดตั้งระบบปฎิบัติการ Windows XP มีเงื่อนไขและข้อจำกัดดังต่อไปนี้
2.1 โปรแกรมจะแบ่่งพาร์ติชันให้แค่สองพาร์ติชันหลักเท่านั้น คือ พาร์ติชันแรกจะเป็นไพรมารีพาร์ติชัน ส่วนพาร์ติชันที่สองจะกลายเป็นเอกซเทนด์พาร์ติชัน หากต้องพาร์ติชันมากว่านี้ ทำได้โดยการแบ่งลอจิคัลพาร์ติชันย่อยๆ ในเอ็กเทนด์พาร์ติชันอีกที
2.2 ระบบปฏิบัติการ Windowx XP จะเรียกลอจิคัลพาร์ติชันว่า ลอจิคัลไดรว์
2.3 โปรแกรมจะกำหนดให้ไพรมารีพาร์ติชัน(ที่มีแค่หนึ่งเดียว)เป็นแอกทีฟพาร์ติชันโดยอัตโนมัติ (ไม่ให้สิทธิ์เราในการจัดการเรื่องนี้)
2.4 หากมองโปรแกรม Disk Management จะมีบางพาร์ชันที่มีสถานะซิสเต็ม(System) สถานะนี้มีความสัมพันธ์กับสถานะแอคทีฟตรงที่ แอคทีฟพาร์ติชัน คือ พาร์ติชันที่ระบบจะเริ่มอ่านโปรแกรมบูตโหลดเดอร์(ถ้ามี หากไม่มีก็จะโหลดระบบปฎิบัติการ) ส่วนซิสเตมพาร์ติชัน คือ พาร์ติชันที่เก็บแฟ้มระบบปฏิบัติการ แอคทีฟพาร์ติชันอาจจะเป็นพาร์ติชันเดียวกับซิสเต็มพาร์ติชันหรือไม่ก็ได้ และในกรณีที่ไม่มีการติดตั้งโปรแกรมบูตโหลดเดอร์(ซึ่งเป็นกรณีของการติดตั้ง ระบบปฎิบัติการธรรมดาทั่วๆไป) ทั้งสองพาร์ติชันนี้จะเป็นพาร์ติชันเดียวกัน

หากท่านต้องการแบ่งพาร์ติชันที่มีความซับซ้อนมากกว่านี้ต้องใช้โปรแกรมสำหรับการแบ่งพาร์ติชันโดยเฉพาะเช่น Partition Magic เป็นต้น

3. ขั้นตอนการแบ่งพาร์ติชัน
เนื้อหาที่นำมาแสดงต่อไปนี้เป็นส่วนหนึ่งในขั้นตอนการติดตั้งระบบปฎิบัติการ Windows XP (สำหรับขั้นตอนทั้งหมดอ่านได้ในหัวข้อ 1.4 การ ติดตั้งระบบปฎิบัติการ Windows XP ) โดยสมมติว่าได้นำฮาร์ดดิสก์ที่ใช้งานอยู่แล้วมาลบพาร์ติชันเดิมทิ้งแล้วสร้างพาร์ติชันใหม่

ฮาร์ดดิสก์ี่ที่นำมาสร้างพาร์ติชันเป็นฮาร์ดดิสก์ขนาด 10 GB (ที่มีขนาดเล็กเพราะเป็นฮาร์ดดิสก์ที่จำลองเอาในเครื่อง) ภาพข้างล่างคือการแ่บ่งพาร์ติชันที่มีอยู่เดิมและเป้าหมายของการแบ่งพาร์ติ ชันใหม่



[การแบ่งพาร์ติชันที่มีอยู่เดิมและเป้าหมายในการแบ่งพาร์ติชันใหม่]

สำหรับขั้นตอนในการแบ่งมีดังต่อไปนี้
3.1 ระหว่างขั้้นตอนการติดตั้งระบบปฎิบัติการ Windows XP หลังจากบูตเครื่องด้วยแผ่นติดตั้งแล้ว โปรแกรติดตั้งจะมาหยุดอยู่ที่โปรแกรมแบ่งพาร์ติชัน


[หน้าจอโปรแกรมแ่บ่งพาร์ติชัน]


3.2 ในการแบ่งพาร์ติชันจะมีปุ่มคีย์บอร์ดที่ต้องใช้งานดังนี้
- ปุ่มลูกศรขึ้น,ลง : ใช้เลือกรายการพาร์ติชันที่จะดำเนินการ
- ปุ่ม C : สร้างพาร์ติชันขึ้นมาใหม่(ในพื้นที่ที่ยังไม่มีการสร้าง หรือ Unpartitioned Space)
- ปุ่ม D : ลบพาร์ติชัน
- ปุ่ม Enter : เลือกพาร์ติชันที่จะติดตั้งระบบปฏิบัติการ(ระวัง ! เมื่อใช้ปุ่มนี้เท่ากับให้ดำเนินการขั้นต่อไป และสิ้นสุดการแบ่งพาร์ติชันโดยปริยาย)


3.3 เราจะเริ่มจากการลบพาร์ติชันที่มีอยู่ โดยเลื่อนแถบสีขาวไปพาร์ติชันที่้ต้องการลบ แล้วคลิ๊กที่ปุ่ม D


- จากนั้นยืนยันการลบพาร์ติชัน โดยการกดปุ่ม L


- เมื่อพาร์ติชันถูกลบแล้ว ก็จะกลับมาสู่หน้าแสดงรายการของพาร์ติชัน

[ข้อสังเกตคือพาร์ติชันที่ถูกลบทิ้งไปแล้ว จะเหลือเพียงข้อความ Unpartitioned Space]

3.4 ให้ลบพาร์ติชันที่เหลือทั้งหมด โดยทำตามขั้นตอนในข้อ 3.3 กระทั่งได้รายการพาร์ติชันที่ปรากฎด้านล่าง


3.5 เริ่มสร้างพาร์ติชันใหม่โดยเลื่อนแถบสีขาวไปพื้นที่ Unpartitioned Space แล้วคลิ๊กที่ปุ่ม C


3.6 ป้อนขนาดของพาร์ติชันที่ต้องการในหน่วย MB และกดปุ่ม Enter


3.7 โปรแกรมจะสร้างพาร์ติชันใหม่ แล้วก็จะกลับมาสู่หน้าแสดงรายการพาร์ติชัน ซึ่งจะสังเกตุเห็นพาร์ติชันที่สร้างขึ้นใหม่อยู่ในรายการด้วย


3.8 สร้างพาร์ติชันโดยใช้้พื้นที่ว่าง(Unpartitioned Space)ที่เหลือ โดยทำตามขั้นตอนที่ 3.5,3.6,3.7 ตามลำดับจะกระทั่งใช้พื้นที่จนหมด ดังที่ปรากฎในภาพด้านล่าง


สำหรับพื้นที่ที่เหลือ 8 MB นั้น เป็นพื้้นที่ที่โปรแกรมแบ่งพาร์ติชันได้กันไว้สำหรับในกรณีต้องการใช้ความ สามารถของไดนามิกส์ดิสก์(ผู้เขียนก็ไม่รู้ว่ามันคืออะไร) ดังนั้นเราก็ปล่อยพื้นที่ส่วนนี้ให้ว่างไว้